จันทร์-เสาร์
081-989-5689
ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี
หลังจดทะเบียนบริษัทแล้ว เจ้าของกิจการต้องไปเปิดบัญชีในชื่อบริษัท เพื่อใช้เป็นบัญชีหลักในการนำเงินที่เกิดจากธุรกรรมของกิจการฝากเข้า-ถอนออก ซึ่งไม่ควรใช้บัญชีส่วนตัวเนื่องจากจะไม่เห็นผลประกอบการที่แท้จริง และยากในการควบคุมเงินเข้า-ออกของกิจการ เพราะหากมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาดู เช่นกรณีกู้เงินจากธนาคาร หรือสรรพากรตรวจเอกสารจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือได้
ที่สำคัญเมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว ต้องไปเปิดบัญชีภายใน 1 เดือน (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) หลังวันก่อตั้งบริษัท หากช้ากว่านั้นจะต้องไปขอคัดหนังสือรับรองใหม่
ปัจจุบันเมื่อเจ้าของกิจการได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว ก็จะถูกขึ้นทะเบียนนายจ้างกับประกันสังคม กระทรวงแรงงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อเริ่มมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และมีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน กิจการต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ที่ >>> สำนักงานประกันสังคม
จริงๆ แล้วกฎหมายไม่ได้มีการบังคับว่าจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าหากกิจการที่มี รายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และไม่อยู่ในธุรกิจที่ได้รับยกเว้น ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติจะถูกบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฎหมาย ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกิน 1.8 ล้านบาท
โดยหลังจากจดแล้ว ต้องมีการออกใบกำกับภาษีซื้อขายให้ถูกต้อง เอกสารเขียนถูกต้องครบถ้วน และดำเนินการยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแก่สรรพากรทุกเดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนเป็นต้นไป แม้ว่าบางเดือนจะไม่มียอดธุรกรรมก็ต้องยื่นตามกำหนด
ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจการ ควรซื้อของทุกอย่างในนามบริษัทเท่านั้น และให้ออกเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี หรือบิลเงินสดที่มีชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเราด้วย จึงจะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อใช้ประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายตอนยื่นภาษีโดยไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เพราะจะไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายตอนยื่นภาษีได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ต้นทุนขาย เช่น ค่าซื้อ ค่าภาษีศุลกากร ค่าธรรมเนียม ค่าขนส่งเมื่อซื้อ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร รวมถึง ต้นทุนทางการเงินและภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง โดยจะถูกหักทันทีหลังจากซื้อขาย แล้วรวบรวมนำส่งสรรพากร ซึ่งนอกจากกิจการจะจ่ายค่าบริการต่างๆ นอกจากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีที่จะได้รับจากผู้รับเงินตามปกติแล้ว
กิจการในฐานะ ผู้จ่ายเงิน ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย เอาไว้ส่วนหนึ่ง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย ตามอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย เบื้องต้นดังนี้
หากสงสัยหัวข้อไหน สามารถสอบถามได้ที่ Page หรือ Line@ ได้เลยค่ะ ธัญพล การบัญชี ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ
รับทำบัญชีรายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา, ปรึกษาภาษี, ปิดงบการเงิน, รับวางระบบบัญชี, วางแผนภาษี, รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ สอบถามโทร : 081-989-5689
Previous Post
Next Post
บัญชีต้นทุน (Cost Accounting) เป็นศาสตร์ในการวิเคราะห์ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า (...)
บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คือกระบวนการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางการเงิน (...)
การจัดการทางการเงินส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันของเรา (...)
บัญชี (Accounting) เป็นกระบวนการบันทึก สรุป วิเคราะห์ และรายงานข้อมูลทางการเงิน (...)
Your name
Your email
Subject
Your message (optional)
รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา รับทำบัญชีรายเดือน รายปี ปรึกษาภาษี ปิดงบการเงิน รับวางระบบบัญชี วางแผนภาษี รายงานสต็อคประจำเดือน/ปี รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์