องค์ประกอบของบัญชีสามารถจัดแบ่งเป็น 5 หมวดดังนี้
1. สินทรัพย์ (Assets)
2. หนี้สิน (Liabilities)
3. ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity)
4. รายได้ (Income or Revenue)
5. ค่าใช้จ่าย (Expenses)
1. สินทรัพย์ (Assets)
สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของ เหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต (กรอบแนวคิดสําหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558)) สินทรัพย์นั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ และอาจเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งกิจการได้มาจากการซื้อ การแลกเปลี่ยน หรือการผลิตขึ้นเอง อันเป็นเหตุการณ์ ในอดีตและสินทรัพย์นั้นมีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดทั้งทางตรงหรือทางอ้อมแก่กิจการ เรียกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต สินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นเงินสด
หรือรายการเทียบเท่าเงินสด หรือสินทรัพย์อื่นที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วหรือได้รับประโยชน์ ภายในช่วงระยะเวลา 1 ปี ตัวอย่างเช่น
1.1.1 เงินสด (Cash on hand ) หมายถึง เหรียญกษาปณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย เหรียญชนิดทุกชนิด ธนบัตรทุกชนิดที่กิจการมีอยู่ในมือ
1.1.2 เงินฝากธนาคาร ( Cash at Bank ) เงินสดที่กิจการนําไปฝากธนาคาร เช็คลง วันที่ปัจจุบัน Draft ตั๋วเงินรับที่ครบกําหนดการบันทึกบัญชีจะใช้ชื่อบัญชีธนาคาร
1.1.3 ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่ซื้อสินค้า ของกิจการเป็นเงินเชื่อหรือการใช้บริการก่อนแต่ยังไม่มีการจ่ายเงิน โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ จํานวนเงินค่าซื้อสินค้าและการให้บริการในภายหลัง
1.1.4 ตั๋วเงินรับ (Note Receivable) หมายถึง เอกสารหรือตราสารทางการเงินที่ ลูกหนี้หรือลูกค้าออกให้กิจการโดยสัญญาว่าจะชําระเงินคืนในภายหน้า กิจการสามารถใช้เป็นหลักฐานใน การเรียกเก็บเงินภายหลังได้ ตั๋วเงินรับอาจมีลักษณะเป็นตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็คลงวันที่ ล่วงหน้าก็ได้
1.1.5 เงินลงทุนชั่วคราว (Temporary investment) หรือ เงินลงทุนระยะสั้น หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี โดย โดยกิจการจะนําเงินสดที่มีอยู่ไปซื้อหุ้นหรือหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ซื้อตั๋วเงินคลังของรัฐบาล ซื้อเช็คขายลด หรือลงทุนในเอกสารการค้าต่าง ๆ เพื่อหวังผลตอบแทนในภายหน้าไม่ว่าจะเป็นในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลภายในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่เกิน 1 ปี
1.1.6 สินค้าคงเหลือ (Inventories) หมายถึง สินค้าสําเร็จรูปที่กิจการมีไว้เพื่อการจําหน่ายหรือเพื่อใช้ในการผลิต แต่กิจการยังไม่ได้จําหน่ายไปในวันสิ้นงวด ได้แก่ สินค้าสําเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบและวัสดุโรงงาน
1.1.7 ลูกหนี้อื่น ๆ (Other Debitors) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมเงินหรือจากเหตุการณ์อื่นที่มิใช่เกิดจากการดําเนินงานปกติ เช่น พนักงานกู้ยืมเงินของกิจการไปใช้จ่ายโดยมีกําหนดการใช้คืนภายใน 1 ปี
1.1.8 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการควรจะได้รับ แล้วแต่กลับยังไม่ได้รับเงิน เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ เงินปันผลค้างรับ รายได้ค่าเช่าค้างรับ รายได้ค้างรับเป็นรายได้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายได้จากการขายตามปกติของกิจการ เช่น รายได้จากการขายสินค้า หรือ รายได้จากการขายบริการก็ตาม และรายได้อื่นๆ
1.1.9 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ถึงเวลาจ่ายแต่กิจการได้จ่ายเงินไปก่อนเพื่อหวังประโยชน์ในภายหน้า เช่น ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า
1.1.10 วัสดุสํานักงาน (Office Supply) หมายถึง สิ่งของที่ใช้สําหรับอํานวยความสะดวกในการทํางาน ซึ่งเมื่อนํามาใช้แล้วจะหมดไปภายใน 1 ปี เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา สมุดหมึกปริ๊นเตอร์ หลอดไฟฟ้า เป็นต้น
1.1.11 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ (Office current assets ) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนที่ได้กล่าวมาแล้ว
1.2 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ทีมีอายุการใช้งานหรือการใช้ประโยชน์ เกินกว่า 1 ปี เป็นสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์มีตัวตน (Tangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตนแต่สามารถระบุมูลค่าได้
1.2.1 เงินลงทุนระยะยาว (Long – Term Investment) หมายถึง เงินลงทุนที่กิจการนําซื้อเพื่อหวังผลตอบแทนในภายหน้า โดยกิจการสามารถไถ่ถอนหรือได้รับเงินทุนคืนจากการลงทุนเกินกว่า 1 ปี ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ ดอกเบี้ย และ เงินปันผล
1.2.2 ที่ดิน (Land) หมายถึง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการและใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสํานักงานของกิจการ ไม่รวมที่ดินที่ที่กิจการซื้อมาเพื่อเก็งกําไร
1.2.3 อาคาร (Buiding) หมายถึง อาคารสํานักงาน โรงงาน โกดังเก็บสินค้าที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการเท่านั้น ไม่รวมอาคารหรือโรงงานที่กิจการเช่าเพื่อดําเนินงาน
1.2.4 อุปกรณ์สํานักงาน (Equipment) หมายถึง สิ่งที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี และเป็นเครื่องอํานวยความสะดวก สบายในการทํางาน โดยกิจการมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้
1.2.5 เครื่องตกแต่ง ( Furniture) หมายถึง สิ่งของที่ใช้ประกอบการตกแต่งสํานักงาน ให้ดูสวยงาม และมีความสบายตา สะดวกสบาย เช่น ตู้โชว์ ชุดรับแขก ผ้าม่าน
1.2.6 รถยนต์ (Car ) หมายถึง ยานพาหนะ รถยนต์ รถบรรทุก ที่กิจการเป็นเจ้าของใช้สําหรับการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของกิจการ หรือ ใช้สําหรับการขนส่งสินค้า
1.2.7 เครื่องจักร ( Machines) หมายถึง เครื่องจักรสําหรับใช้ในการผลิตสินค้าในโรงงาน เพื่อแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้า
1.2.8 ลิขสิทธิ์( Copyrights) หมายถึง สิทธิที่ได้จากงานในสาขาวรรณกรรม เช่นผลงานดนตรี ศิลปะ
1.2.9 สิทธิบัตร ( Patents) หมายถึง สิทธิทีได้รับจากการผลงานการประดิษฐ์ คิดค้นหรือออกแบบ และมีหนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อรับรองสิทธิในความเป็นเจ้าของ
1.2.10 เครื่องหมายการค้า (Trademarks) หมายถึง สัญลักษณ์ที่ได้จดทะเบียนและแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของกิจการแต่ผู้เดียว
1.2.11 ค่าความนิยม ( Good Will ) หมายถึง ส่วนเกินจากมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนที่กิจการซื้อกิจการอื่นในราคาที่แพงกว่าสินทรัพย์สุทธิของกิจการ อันเป็นผลมาจากชื่อเสียงกิจการ หรือประสิทธิภาพในการบริหารงานของกิจการ
1.2.12 สินทรัพย์อื่น (Other Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียนนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว
2. หนี้สิน (Liabilities)
หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจหนี้สินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและมีภาระผูกพันที่จะต้องชําระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หนี้สินหมุนเวียนที่สําคัญ ได้แก่
2.1.1 เจ้าหนี้การค้า (Accounts Payable) หมายถึง ภาระผูกพันที่เกิดขึ้นในการดําเนินงานปกติของกิจการ
2.1.2 เงินเบิกเกินบัญชี (Bank Overdraft) หมายถึง กิจการฝากเงินธนาคารแบบกระแสรายวันและได้ทําตามข้อตกลงตามเงื่อนไขที่ธนาคารกําหนดไว้เกี่ยวกับการเบิกเงินเกินบัญชีทําให้กิจการสามารถเบิกเงินเกินบัญชีมาใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนได้
2.1.3 เงินกู้ยืมธนาคาร (Bank Loan) หมายถึง การที่กิจการทําสัญญาขอกู้เงินจากธนาคารโดยมีเงื่อนไขการชําระคืนภายในระยะเวลา 1 ปี
2.1.4 ตั๋วเงินจ่าย (Note Payable) หมายถึง เอกสารทางการเงินที่กิจการเป็นผู้ออกและสัญญาว่าจะชําระเงินให้ในภายหน้าเมื่อครบกําหนดระยะเวลาที่กําหนด มีทั้งชนิดมีดอกเบี้ยและไม่มีดอกเบี้ย เอกสารทางการเงินอาจจะออกในลักษณะของตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็คลงวันที่ล่วงหน้า โดยมีกําหนดการจ่ายเงินตามตั๋วภายในระยะเวลา 1 ปี
2.1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมายถึง รายได้ที่ยังไม่ถึงเวลารับเงินแต่กิจการรับเงินมาก่อน ทําให้เกิดภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ด้วยสินค้าหรือบริการให้แก่บุคคลหรือกิจการที่จ่ายเงินมาแล้วภายในระยะเวลา 1 ปี เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยรับล่วงหน้า
2.1.6 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ถึงเวลาจ่ายแล้วแต่กิจการยังไม่จ่ายเงินจนถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ค่าโทรศัพท์ค้างจ่าย ค่าน้ําค้างจ่ายค่าไฟฟ้าค้างจ่าย
2.1.7 เจ้าหนี้อื่น (Other Creditor) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชําระหนี้คืนแก่บุคคลหรือกิจการอื่นภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้การค้า
2.2 หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและมีภาระผูกพันที่ต้องชําระคืนในระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ในการชําระคืนอาจจะชําระครั้งเดียวหรือผ่อนชําระเป็นงวดๆ ก็ได้ หนี้สินระยะยาวได้แก่
2.2.1 หุ้นกู้ (Bond Payable) หมายถึง การกู้ยืมเงินจากบุคคลหรือกิจการอื่น โดยกิจการการออกหุ้นกู้ให้เป็นหลักฐาน โดยกิจการจะจ่ายผลตอบแทนให้เป็นดอกเบี้ย
2.2.2 เงินกู้ยืมระยะยาว (Long – Term Loan) หมายถึง การกู้ยืมเงินจากบุคคลหรือกิจการอื่นหรือธนาคาร ที่มีการชําระคืนเงินเกินกว่า 1 ปี
3. ส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity)
ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินการเรียกส่วนของเจ้าของจะเป็นไปตามลักษณะของการประกอบกิจการโดยกิจการเจ้าของคนเดียวเรียกว่า “ส่วนของเจ้าของ” ประกอบไปด้วยบัญชีทุน ถอนใช้ส่วนตัว กําไรขาดทุน กิจการห้างหุ้นส่วนเรียกว่า “ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน” ประกอบไปด้วยบัญชีทุน กระแสทุน กําไรขาดทุน และบริษัทจะเรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น” ประกอบไปด้วยบัญชี หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ส่วนต่ํากว่ามูลค่าหุ้น ส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้น กําไรขาดทุน กําไรสะสม
3.1 ทุน (Capital) หมายถึง การลงทุน การเพิ่มทุน การถอนทุน การที่เจ้าของกิจการนําสินทรัพย์มาลงทุน
3.2 ถอนใช้ส่วนตัว (Personal Use) หมายถึง เจ้าของหรือผู้เป็นหุ้นส่วนนําเงินหรือสินทรัพย์ของกิจการไปใช้ส่วนตัว
3.3 กําไรขาดทุน (Profit and loss) หมายถึง ผลการดําเนินงานประจํางวดบัญชี คํานวณจากรายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายแสดงว่าผลการดําเนินงานกําไร หากรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายแสดงว่าผลการดําเนินงานขาดทุน
3.4 หุ้นสามัญ (Common Stock) หมายถึง ตราสารทุนที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม แต่จะได้รับเงินปันผลหลังจากจ่ายให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิเรียบร้อยแล้ว
3.5 หุ้นบุริมสิทธิ (Preference Stock) หมายถึง ตราสารประเภทหุ้นทุน ไม่มีสิทธิในการออกเสียงในการบริหาร ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับสิทธิในการชําระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีบริษัทเลิกกิจการ
4. รายได้ (Income or Revenue)
รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแส
เข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่
รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ เช่น รายได้ค่าบริการ ขายสินค้า ดอกเบี้ยเงิน
ฝากธนาคาร
4.1 รายได้ค่าบริการ ( Service Revenue ) หมายถึง จํานวนเงินหรือผลตอบแทนที่
กิจการได้รับจากการให้บริการ เช่น รายได้จากค่าเสริมสวย รายได้จากค่าซ่อมรถ รายได้จากการซักรีด
4.2 การขายสินค้า (Sale) หมายถึง จํานวนเงินหรือผลตอบแทนที่ได้จากการการขายสินค้า
เช่น ขายสินค้าอุปโภคบริโภค
4.3 ดอกเบี้ยรับ ( Interest Income ) หมายถึง จํานวนเงิน หรือผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น จาก
การนําเงินไปซื้อลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะยาว จากการให้กู้ยืม จากการฝากธนาคาร
สรุป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชี ทั้ง 6 Ep
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อช่วยให้เรียนรู้เกี่ยวกับการบัญชีการบัญชี หมายถึง ศิลปะในการรวบรวมหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน การจดบันทึกรายการที่
สามารถตีค่าเป็นจํานวนเงินได้ การจําแนกหมวดหมู่ การสรุปผลการรายงานผลในรูปของจํานวนเงิน และ การแปลความหมายไว้อย่างเป็นระบบ องค์ประกอบของบัญชี มี 5 หมวด 1) สินทรัพย์ หมายถึง
ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ และทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์นั้นอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตน
ก็ได้ และอาจเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งกิจการได้มาจากการซื้อ การแลกเปลี่ยน หรือการผลิตขึ้นเอง อันเป็นเหตุการณ์ในอดีตและสินทรัพย์นั้นมีความสามารถในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
แก่กิจการ เรียกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต 2) หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ เป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากร
ที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ 3) ส่วนของเจ้าของ หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว 4) รายได้ หมายถึง การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบ
ระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ เช่น รายได้ค่าบริการ ขาย
สินค้า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร 5) ค่าใช้จ่าย หมายถึง การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเงินสดออก หรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผล
ให้ส่วนของเจ้าของลดลงทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ํา ค่าไฟฟ้า ค่าโฆษณา สมการบัญชี หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน
และส่วนของเจ้าของกิจการจะต้องจัดทํารายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งมี กรอบแนวคิดสําหรับรายงานทางการเงินเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติในการจัดทําบัญชีให้ถูกต้องตาม
หลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และมีกฎหมายทางบัญชีที่สําคัญที่จะต้องปฏิบัติตามคือ 1) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 2 ) พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2457