รูปแบบของการประกอบธุรกิจ
ในการประกอบธุรกิจสามารถแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งและผู้เริ่มก่อตั้งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) หมายถึง กิจการขนาดเล็กที่มีผู้เริ่มต้นก่อตั้งเพียงบุคคลเดียว ลงทุนเพียงคนเดียว มีอํานาจใน การการบริหารงาน การจัดการ การดําเนินงานทั้งหมดซึ่งเจ้าของจะมีหน้าที่รับผิดชอบในหนี้สินของ กิจการร้านค้าที่เกิดขึ้นแบบไม่จํากัดจํานวน โดยเจ้าของสามารถจ้างพนักงานมาช่วยงานในกิจการได้ เช่น ร้านเสริมสวย ร้านขายของชํา ร้านอาหาร ร้านซักอบรีด ร้านซ่อมรถ เป็นต้น
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) หมายถึง กิจการที่มีผู้เริ่มก่อตั้งและร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการกําหนดข้อตกลงและ เงื่อนไขในการลงทุนแลการแบ่งผลกําไรไว้อย่างชัดเจน ผู้เป็นหุ้นส่วนจะช่วยกันทํางานหรือแต่งตั้งบุคคลใด
บุคคลหนึ่งเป็นผู้บริหารงานก็ได้ ตามหลักกฎหมายได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมดแบบไม่จํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนที่จะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนจัดตั้งก็ได้ แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลและจะต้องมีคําว่า“นิติบุคคล”ต่อท้ายชื่อของห้างหุ้นส่วน
2) ห้างหุ้นส่วนจํากัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจํากัดจะมี 2 ประเภทคือ หุ้นส่วนที่จํากัดความรับผิดชอบกับหุ้นส่วนที่ไม่จํากัดความรับผิดชอบ ซึ่งทุกห้างหุ้นส่วนจํากัดกฎหมายกําหนดไว้ว่าจะต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนที่ผู้รับผิดชอบแบบไม่จํากัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ห้างหุ้นส่วนจํากัดต้องจดทะเบียนจัดตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคค
3. บริษัทจำกัด (Company)
ตามกฎหมายแล้วบริษัทจํากัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) บริษัทเอกชน จํากัด (Corporation) บริษัทจํากัดจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1097 ได้บัญญัติไว้ว่า การจัดตั้งบริษัทเอกชนจํากัด ต้องมีผู้จัดต้องอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ร่วมกันจดหนังสือบริคณห์สนธิและนําไปจดทะเบียน เมื่อมีผู้ซื้อหุ้นครบแล้วจึงจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท บุคคลทั่วไปไม่สามารถซื้อหุ้นของบริษัทเหล่านี้ได้ ซึ่งมีลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ หุ้นต้องมีมูลค่าอย่างต่ําหุ้นละ 5 บาท การชําระมูลค่าหุ้นครั้งแรกต้องไม่ต่ํากว่า 25% และผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเพียงแค่มูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
2) บริษัทมหาชน จํากัด ( Public Corporation) บริษัทจํากัดที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จํากัด พ.ศ. 2535 กําหนดว่าการจัดตั้งบริษัทมหาชน จํากัด ต้องมีผู้จัดตั้งอย่างน้อย 15 คนขึ้นไป ต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อยร้อยละ5 ของหุ้นที่จดทะเบียน แต่ละคนถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 หุ้นของบริษัทมหาชนมีลักษณะที่ตั้งใจจะขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป โดยผู้ที่ซื้อหุ้นไปจะมีสภาพความเป็นเจ้าของซึ่งจะจํากัดความรับผิดชอบตามมูลค่าหุ้นที่ต้องชําระเท่านั้น
4. รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) เป็นหน่วยงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าของทั้งหมด หรือรัฐบาลร่วมลงทุนเกินกว่า 50 % โดยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 มาตรา 13 เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ท่าเรือแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคมคอยดูแล การไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงานคอยดูแล การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกระทรวงมหาดไทยคอยดูแล
การแบ่งประเภทของธุรกิจในทางบัญชีและการจัดทำบัญชีมี 3 ประเภท คือ
1. ธุรกิจให้บริการ ( Service firm) คือ ธุรกิจที่จัดทําขึ้นมาเพื่อ จะให้บริการในด้านต่าง ๆ แก่ลูกค้าโดยไม่มีการนําสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการดําเนินงาน เช่น โรงแรมให้บริการห้องพัก ร้านซ่อมรถร้านซักอบรีด ร้านเสริมสวย ร้านบริการอินเตอร์เนต บริษัทให้บริการขนส่งสินค้า เป็นต้น
2. ธุรกิจซื้อขายสินค้า ( Merchandising firm) คือ การนําสินค้าจําหน่าย หรือทําให้เกิดการแลกเปลี่ยน มีสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้องในการดําเนินงาน เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาจากกิจการอื่นนํามาขายให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ขายก็ได้โดยซื้อมาแบบใดขายไปแบบนั้นไม่มีการแปรสภาพของสินค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า บริษัทตัวแทนจําหน่ายสินค้า ร้านขายของชํา ร้านสะดวกซื้อ
3. ธุรกิจอุตสาหกรรม ( Manufacturing firm) เป็นธุรกิจที่ทําการแปรสภาพวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสําเร็จรูป บางธุรกิจผลิตสินค้าขึ้นมาเองแล้วนําสินค้านั้นออกจําหน่ายด้วยตัวเอง บางธุรกิจผลิตขึ้นมาแล้วส่งให้ผู้อื่นขาย เช่น บริษัทในเครือซีพี บริษัทในเครือสหพัฒนพิบูลย์ บริษัทผลิตรถยนต์