ธัญพล การบัญชี รับทำบัญชี รายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา

9:00AM - 6:00PM

จันทร์-เสาร์

ปรึกษาฟรี

081-989-5689

10 ซ.รัตนาธิเบศร์ 28 แยก 22

ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • รับทำบัญชี ทุกประเภท
    • ทำบัญชี ธุรกิจให้บริการ
    • ทำบัญชี ร้านขายสินค้าออนไลน์
    • ทำบัญชี ธุรกิจการท่องเที่ยว
    • ทำบัญชี ธุรกิจร้านอาหาร
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับผลิตสินค้า
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับเหมา
  • บทความบัญชี
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ติดต่อเรา
  • สอบถามราคา
ธัญพล การบัญชี รับทำบัญชี รายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • รับทำบัญชี ทุกประเภท
    • ทำบัญชี ธุรกิจให้บริการ
    • ทำบัญชี ร้านขายสินค้าออนไลน์
    • ทำบัญชี ธุรกิจการท่องเที่ยว
    • ทำบัญชี ธุรกิจร้านอาหาร
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับผลิตสินค้า
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับเหมา
  • บทความบัญชี
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ติดต่อเรา
Thunyaphol@tpacc.co.th
081-989-5689
ธัญพล การบัญชี รับทำบัญชี รายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา
  • Add Line@

9 ภาษีที่ต้องรู้ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ

ในการประกอบธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำกิจการนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลส่วนเป็นใหญ่นั้น มักจะเป็นในเรื่องของการตลาด ว่าเราจะเสาะหาแหล่งลูกค้าจากที่ไหน ต้องทำการตลาดยังไงถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึง เรื่องของเงินทุนต่างๆในการเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการหลายๆคนมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก นั่นก็คือเรื่องของ ภาษี อากร
          โดยหลักการทั่วไปที่คนคุ้นเคยกันนั้น ภาษีคือ ภาระหน้าที่ประชาชนที่ต้องนำส่งภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารประเทศ ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายจะมีบทลงโทษผู้ไม่ยอมเสียภาษี ดังนั้นบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของภาษี อากร ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้จัก

  1. ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้ เก็บจากคนที่มีรายได้ แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บจากบุคคลธรรมดา ถ้าเราทำธุรกิจโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เราต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา โดยผู้ที่ทำธุรกิจในนามบุคคลทำ จะต้องยื่นภาษี 2 ครั้งในแต่ละปี คือภาษีครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด.94 และภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.90 แตกต่างจากคนที่เป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือน ซึ่งจะยื่นครั้งเดียวเป็นภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.91 แทน

 สำหรับคนที่ทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ภาษีที่คุณต้องเสียก็คือภาษีเงินได้นิติบุคคล ใน 1 ปี เราต้องยื่น 2 ครั้ง คือภาษีเงินได้ครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด.51 และภาษีเงินได้ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.50

  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็ความหมายตามชื่อของมัน คือจะ “หัก ณ ที่จ่าย” ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้นตามเงื่อนไข ผู้จ่ายเงินก็ต้องหักเงินจำนวนหนึ่งไว้เพื่อนำส่งภาษีให้รัฐ หลักการของภาษีนี้ก็คือเพื่อลดภาระภาษีตอนปลายปีของผู้รับเงินในฐานะผู้มีเงินได้ เพราะเป็นการทยอยๆ เสียภาษีทีละนิดๆ ตามครั้งที่รับเงิน ดีกว่าที่จะมาเจอต้องเสียภาษีเป็นเงินก้อนใหญ่ที่เดียว (อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ สรรพากรต้องการเพิ่มโอกาสที่จะได้รับเงินภาษีเพิ่ม เพราะว่าหลายคนมักไม่ค่อยกล้าขอคืนภาษีกันซักเท่าไหร่)

 อัตราภาษีที่ต้องหักนั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเราจ่ายให้ใคร และจ่ายค่าอะไร เราจะยังไม่ลงรายละเอียดในบทความนี้ แต่รู้ไว้แล้วกันว่าเมื่อเราต้องจ่ายเงินให้กับคนอื่นทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล เราต้องหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งสรรพากรด้วย และในทางกลับกันเราก็จะไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนจากลูกค้าเรา เพราะเค้าก็ต้องหักเงินเราแล้วนำส่งให้สรรพากร

 เงินส่วนที่เราหักไป หรือลูกค้าหักจากเรา จะถูกแทนที่ด้วยกระดาษที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ซึ่งผู้ถูกหัก ณ ที่จ่ายสามารถนำไปขอคืนจากรัฐตอนสิ้นปี หรือไปลดภาระภาษีได้

 ภาษีที่คุณต้องนำส่งนั้น แบ่งเป็นหลายประเภท ถ้าเราจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดา แบบภาษีที่เราต้องหัก และนำส่งให้รัฐอาจจะเป็น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราจ่ายเงินค่าอะไร หรือถ้าเราจ่ายเงินในนิติบุคคล ภาษีที่เราต้องหัก และนำส่งให้รัฐอาจจะเป็น ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.54 ก็ได้ รายละเอียดไว้ดูกันในบทความต่อๆไป

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่รู้จักกันในนาม VAT ก็คือภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า โดยผู้ขาย ที่จดทะเบียน VAT แล้ว มีหน้าที่จะต้องเรียกเก็บ VAT เพิ่มจากราคาขาย 7% และเรียกว่า “ภาษีขาย” และหากเราไปซื้อสินค้า/บริการที่ผู้ขายมีการคิด VAT ด้วย ส่วนเพิ่มที่จ่ายไปในราคาซื้อนี้เรียกว่า “ภาษีซื้อ”

ผู้ที่อยู่ในระบบ VAT ต้องนำส่งภาษีให้กับสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด (เช่น วันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ +8 วันหากยื่นออนไลน์) โดยคำนวณจากยอดภาษีขาย หักออกด้วยยอดภาษีซื้อ

 ถ้าภาษีขาย > ภาษีซื้อ เราก็ต้องจ่ายให้สรรพากรในส่วนที่ยังขาดอยู่ แต่ถ้าภาษีซื้อ > ภาษีขาย เราก็สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จากสรรพากรได้ หรือเก็บไว้ขอคืนหรือหักกลบในเดือนต่อๆไปก็ได้

 สำหรับการยื่นภาษีซื้อนี้ มี 2 แบบฟอร์ม ก็คือ ภ.พ.30 (สำหรับการซื้อขายกับผู้ประกอบการในไทย) และ ภ.พ.36 (สำหรับการซื้อขายกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ เช่น ค่าเช่าเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ ค่าบริการซอฟท์แวร์จากต่างประเทศ)

  1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ ธุรกิจโดยทั่วไปมักจะไม่ค่อยได้ยุ่งกันซักเท่าไหร่ เพราะตามชื่อเลย มันคือการบังคับใช้กับธุรกิจบางธุรกิจเท่านั้น โดยทั่วไปก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคาร หรือโรงรับจำนำ

 แต่บางครั้งธุรกิจธรรมดาทั่วๆไป ก็ต้องเสียภาษีตรงนี้ด้วย จากบัญชีลี้ลับที่มีชื่อว่า “เงินให้กู้ยืมกรรมการ” ทำให้เราต้องมีการคิดดอกเบี้ยจากกรรมการและจะกลายเป็นธุรกรรมที่เข้าค่ายการทำธุรกิจอย่างธนาคาร (คือการปล่อยกู้)

 สำหรับการยื่นภาษีธุรกิจเฉพาะนี้ เราจะใช้ ภ.ธ.40 ในการยื่นภาษี และต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (หรือ +8 วันหากยื่นออนไลน์)

  1. ภาษีสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิตหรือ “ภาษีบาป” เรียกเก็บจากการขายสินค้า/บริการ บางประเภทที่มีส่วนทำลายสังคม วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น บุหรี่ เหล้า ไพ่ น้ำมัน เชื่อเพลิงต่างๆ อาบอบนวด รถยนต์ยานพาหนะ เป็นต้น หรือสินค้า/บริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม สนามกอล์ฟ พรมขนสัตว์ เป็นต้น และต้องแจ้งงบรายเดือนให้กับสรรพสามิตพื้นที่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

  1. ภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่เก็บจากเจ้าของที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี (เช่น อาคารพาณิชย์ ที่รกร้าง)

 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนําเงินมาชําระค่าภาษีในเดือนเมษายนของทุกปีที่กองคลังของเทศบาลที่ที่ดินตั้งอยู่ ตามอัตราที่แต่ละท้องที่กำหนด โดยต้องยื่นครั้งแรกในเดือนมกราคมของปีนั้นๆโดย 4 ปีจะชำระ 1 ครั้ง หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของหรือการใช้ประโยชน์ก็ต้องชำระภายใน 30 วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ชำระที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ตั้งอยู่

  1. ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง

ในกรณีที่เรามีอาคาร หรือที่ดินเพื่อเช่า และมีรายได้จากการเช่า เราจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจำนวน 12.5% ต่อปีของค่าเช่าทั้งปี (ค่าเช่าที่คิดทั้งปี เช่น ถ้าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ค่าเช่าทั้งปีคือ 5,000×12 = 60,000 บาท จะเสียภาษี 12.5% = 7,500 บาท) โดยชำระที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

  1. ภาษีป้าย

ภาษีป้ายคือ ภาษีที่เก็บจากป้าย ซึ่งคิดตามขนาดของป้าย แต่เริ่มต้นที่ 200 บาทสำหรับป้ายที่ไม่ได้รับการยกเว้น ภาษีป้ายจะต้องยื่นที่สำนักงานเขต หรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

  1. อากรแสตมป์

อากรแสตมป์เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อทำธุรกรรมบางอย่าง (มี 28 อย่าง) เช่น สัญญาเช่าที่ เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงิน เป็นต้น โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ผู้ให้เช่า หรือผู้ให้กู้ โดยสามารถชำระเป็นอากร (ซื้อได้ที่กรมสรรพากร) หรือเป็นเงินสด (ในตราสารบางประเภท และต้องขออนุมัติด้วย อ.ส.4 ก่อน)

authour png

หากสงสัยหัวข้อไหน สามารถสอบถามได้ที่ Page หรือ Line@ ได้เลยค่ะ ธัญพล การบัญชี ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

ธัญพล การบัญชี

ปรึกษาฟรี

ธัญพล การบัญชี

รับทำบัญชีรายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา, ปรึกษาภาษี, ปิดงบการเงิน, รับวางระบบบัญชี, วางแผนภาษี, รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ สอบถามโทร : 081-989-5689

Tags
#ธุรกิจ #บัญชี #ภาษี #ยื่นภาษี
Share
  • Previous Post

    ไม่เสียภาษี ต้องยื่นภาษีไหมนะ ?

  • Next Post

    e-Tax Invoice เรื่องต้องรู้ในธุรกิจยุค e-Business

Related Posts

เปิดบริษัท ต้องทำบัญชีไหม ? ความรู้เรื่องบัญชี
June 1, 2025

เปิดบริษัท ต้องทำบัญชีไหม ?

การเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องเริ่มจาก “การจดทะเบียนบริษัท” (...)

วิธีจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย (สำหรับผู้เริ่มต้น) ความรู้เรื่องบัญชี
May 1, 2025

วิธีจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย (สำหรับผู้เริ่มต้น)

การเริ่มต้นธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องเริ่มจาก “การจดทะเบียนบริษัท” (...)

ภาษี VAT กับ ภาษีเงินได้ (TAX) ต่างกันอย่างไร ? ความรู้เรื่องบัญชี
March 20, 2025

ภาษี VAT กับ ภาษีเงินได้ (TAX) ต่างกันอย่างไร ?

การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของพลเมืองและธุรกิจทุกคนที่มีรายได้หรือมีการประกอบกิจการ (...)

ขายข้าวแกงต้องเสียภาษีไหม ? ความรู้เรื่องบัญชี
November 3, 2024

ขายข้าวแกงต้องเสียภาษีไหม ?

หลายคนเคยสงสัยไหม ว่าขายข้าวแกงจะต้องเสียภาษีหรือเปล่า เรามาทำความเข้าใจกันค่ะ (...)

Recent Posts

  • เปิดบริษัท ต้องทำบัญชีไหม ?
  • วิธีจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย (สำหรับผู้เริ่มต้น)
  • ภาษี VAT กับ ภาษีเงินได้ (TAX) ต่างกันอย่างไร ?
  • ขายข้าวแกงต้องเสียภาษีไหม ?
  • ความสำคัญของการทำบัญชีร้านอาหาร

Post Categories

  • ความรู้เรื่องบัญชี (46)

Tag

Account DBD TAX VAT กฎหมายภาษี การจัดหาเงินทุน การตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การหลบหลีกภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี ขาดทุน ข้อกำหนดทางกฎหมาย ความน่าเชื่อถือทางการเงิน ความเสี่ยงภาษี ค่าเช่า งบการเงิน จดทะเบียนการค้า จดทะเบียนบริษัท จำกัด ธุรกิจ บริษัท บัญชี บัญชีต้นทุน บัญชีธุรกิจ บัญชีรายเดือน บัญชีลูกหนี้ บัญชีเจ้าหนี้ บุคคลธรรมดา ประโยชน์ของงบการเงิน ปิดงบการเงิน ภาษี ภาษีธุรกิจ ภาษีร้านค้าออนไลน์ ภาษีเงินได้ ยื่นภาษี รับทำบัญชี ร้านค้าออนไลน์ วางแผนการเงิน สรรพากร สำนักงานบัญชี หัก ณ ที่จ่าย เงินได้ ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้

About Authour

ธัญพล การบัญชี

authourimage

สำนักงานบัญชี TPACC ยินดีให้คำปรึกษาเรื่องบัญชี รับทำบัญชีรายเดือน รับทำบัญชีรายปี ปิดงบ ยืนภาษี

Call now
image

รับทำบัญชีรายเดือน รายปี รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา, ปรึกษาภาษี, ปิดงบการเงิน, รับวางระบบบัญชี, วางแผนภาษี, รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์

image
ต้องการความช่วยเหลือ ?

โทร : 081-989-5689

สอบถาม

  • @Tpaccounting
  • @Tpacc

Add Line@

Get In Touch

สำนักงานใหญ่

10 ซ.รัตนาธิเบศร์ 28 แยก 22
ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ติดต่อ
โทร :
081-989-5689
อีเมล :
Thunyaphol@tpacc.co.th
© ธัญพล การบัญชี All Rights Reserved. Design By  OK COM
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • รับทำบัญชี ทุกประเภท
    • ทำบัญชี ธุรกิจให้บริการ
    • ทำบัญชี ร้านขายสินค้าออนไลน์
    • ทำบัญชี ธุรกิจการท่องเที่ยว
    • ทำบัญชี ธุรกิจร้านอาหาร
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับผลิตสินค้า
    • ทำบัญชี ธุรกิจรับเหมา
  • บทความบัญชี
  • คำถามที่พบบ่อย
  • ติดต่อเรา

    img

    รับจดทะเบียน บจก. หจก. บุคคลธรรมดา รับทำบัญชีรายเดือน รายปี ปรึกษาภาษี ปิดงบการเงิน รับวางระบบบัญชี วางแผนภาษี รายงานสต็อคประจำเดือน/ปี รับทำบัญชีร้านค้าออนไลน์

    Read More

    Latest News

    © 2025 TPACC. All Rights Reserved.